วิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์
วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ ( subprime mortgage crisis) หรือ วิกฤติซับไพรม์ วิกฤติสินเชื่อด้อยคุณภาพ ในช่วงนั้นในประเทศไทยได้เรียกว่า วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ เป็นปัญหาเศรษฐกิจ ในช่วงปี พ.ศ. 2550 ถึงปี 2551 วิกฤตินี้คือความคล่องตัวของสินเชื่อทั่วโลกลดลง ซึ่งสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน
สาเหตุของวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์
วิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา เริ่มเกิดขึ้นกลางปี 2007 และเห็นผลรุนแรงขึ้นเรื่อยๆในปี 2008 บางครั้งเรียกว่า วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) เนื่องจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเริ่มเกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกาและส่งผลกระทบต่อเนื่องไปทั่วโลก บางครั้งเรียกว่าวิกฤตซับไพรม์หรือวิกฤตหนี้ด้อยคุณภาพ (Sub-Prime Crisis) เนื่องจากเกิดปัญหาการบริหารจัดการสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (Sub-Prime Mortgage) ผิดพลาด และผลของการกำกับดูแลกลุ่มวาณิชธนกิจ (Investment Banking) ไม่รัดกุม จนทำให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องและคุกคามความมั่นคงของสถาบันการเงิน ปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ สามารถสรุปได้ดังนี้1. การใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา2. การบริหารจัดการสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำและการเกิดหนี้สูญ3. การเก็งกำไรของกลุ่มวาณิชธนกิจหรือบรรษัทเงินทุนในสหรัฐอเมริกา
ผลกระทบของวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์
1. ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาส่งผลกระทบเชื่อมโยงไปทั่วโลกเนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศมหาอำนาจและเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญทั้งทางด้านการค้า การลงทุนและการเงินข้ามชาติ ผลกระทบครั้งนี้ทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกลดลง โดยเฉพาะในปี 2009 เป็นปีที่ได้รับผลกระทบรุนแรงผลผลิตมวลรวมประชาชาติของสหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรปและเอเชียลดลง เนื่องจากเมื่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาตกต่ำจะทำให้การบริโภค การลงทุนลดลง ส่งผลให้ประเทศอื่นๆที่เกี่ยวข้องมีอุปสงค์รวมลดลงด้วยจึงทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆลดลงเช่นกัน
2. การค้าระหว่างประเทศลดลงทั่วโลก เมื่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาถดถอย อำนาจซื้อของประชาชนลดลงเป็นหนี้สินทำให้การบริโภคลดลง ดังนั้นทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าของสหรัฐอเมริกาลดลงส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศต่างๆไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นคู้ค้าที่สำคัญของหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งประเทศใดจะได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่า ประเทศนั้นๆ พึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกามากน้อยเพียงใด สำหรับประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ เช่น ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย สิงค์โปร์ และไทย พึ่งพาการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่จึงได้รับผลกระทบเช่นกัน
3. สถาบันการเงินทั่วโลกสั่นคลอน การเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งนี้ทำให้บริษัทวาณิชธนกิจหรือบรรษัทเงินทุนขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรปต้องขาดทุน และล้มละลาย เช่น กลุ่มบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสี่ของสหรัฐอเมริกา มีอายุเก่าแก่ถึง 158 ปี เป็นเจ้าของธนาคารและสถาบันการเงินประเภทต่างๆที่เป็นนายหน้ารายหลักของการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลอเมริกัน (Primary Dealer in the US Treasury Securities Market) บริษัทมีการลงทุนทั่วโลกทั้งในตลาดเงินและตลาดทุนและยังเป็นนายหน้ารายใหญ่ในตลาดอนุพันธ์ (Future Markets)ในตลาดการเงินต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งมีบริษัทบัตรเครดิต American Express ซึ่งมีสาขาทั่วโลกทั้งที่ลอนดอน โตเกียว กลุ่มบริษัทเลห์แมนบราเธอร์ส มีขนาดทางธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ (Market Cap) ประมาณ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2007และมีประมาณการรายได้สุทธิของปี 2007 อยู่ที่ 6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สินทรัพย์ของบริษัท ณ สิ้นปี 2007 อยู่ที่ 691 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีพนักงานทั่วโลกมากกว่า 26,000 คน และเคยผ่านวิกฤตการณ์ต่างๆ มาได้ตลอดทั้ง 150 กว่าปีของการดำเนินงานที่ผ่านมา แต่ต้องมาล้มละลายลงเนื่องจากบริษัทในเครือ BNC Mortgage ปล่อยกู้ให้กับลูกค้าสินเชื่อซับไพรม์และเกิดปัญหาหนี้เสียมหาศาลจนต้องปิดกิจการ ทำให้บริษัทขาดทุนประมาณ 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้บริษัทขาดความเชื่อมั่นและเกิดความเสียหายลุกลามต่อเนื่องไปจนถึงบริษัทแม่ ทำให้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี2008 กลุ่มบริษัท เลห์แมน บราเธอร์สมียอดขาดทุนถึง 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้บริษัทต้องขายสินทรัพย์ออกไปถึง 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หุ้นของบริษัทมีมูลค่าลดลงถึงร้อยละ 73 และมีแนวโน้มจะลดลงต่อไปเรื่อยๆและในที่สุดบริษัทต้องขอความคุ้มครองตามมาตรา 11 ของกฎหมายการเงินสหรัฐอเมริกา ที่อนุญาตให้บริษัทที่มีปัญหาทางการเงิน ประกาศขอล้มละลาย และส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังสถาบันการเงินใหญ่ของสหรัฐอเมริกา อีก 2 แห่ง ได้แก่ Merrill Lynch และ American International Group (AIG) และต่อเนื่องเป็นลูกโซ่กระทบถึงสถาบันการเงินทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกัน เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อซับไพรม์มากเกินไปจนเกิดหนี้สูญจำนวนมหาศาล รวมทั้งสถาบันการเงินอื่นๆในต่างประเทศที่ร่วมลงทุนในตราสารอนุพันธ์ซีดีเอส ส่งผลทำให้สถาบันการเงินของโลกต้อง ได้รับผลกระทบประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ขาดความมั่นคงและต้องปิดกิจการ ทางภาครัฐบาลร่วมกับธนาคารกลางจึงจำเป็นต้องนำเงินงบประมาณเข้าไปช่วยเหลือเฉพาะสถาบันการเงินของรัฐที่ทำหน้าที่ให้สินเชื่อด้านอสังหาริมทรัพย์ เช่น Fannie Mae and Freddie Mac บริษัทประกันAmerican International Group (AIG) มูลค่าการช่วยเหลือสถาบันการเงินในเบื้องต้นประมาณ11 ล้านล้านบาท ซึ่งมีขนาดมากกว่า GDP ของประเทศไทย ทั้งนี้ไม่สามารถช่วยสถาบันการเงินได้ทั้งหมด
3. สถาบันการเงินทั่วโลกสั่นคลอน การเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งนี้ทำให้บริษัทวาณิชธนกิจหรือบรรษัทเงินทุนขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรปต้องขาดทุน และล้มละลาย เช่น กลุ่มบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสี่ของสหรัฐอเมริกา มีอายุเก่าแก่ถึง 158 ปี เป็นเจ้าของธนาคารและสถาบันการเงินประเภทต่างๆที่เป็นนายหน้ารายหลักของการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลอเมริกัน (Primary Dealer in the US Treasury Securities Market) บริษัทมีการลงทุนทั่วโลกทั้งในตลาดเงินและตลาดทุนและยังเป็นนายหน้ารายใหญ่ในตลาดอนุพันธ์ (Future Markets)ในตลาดการเงินต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งมีบริษัทบัตรเครดิต American Express ซึ่งมีสาขาทั่วโลกทั้งที่ลอนดอน โตเกียว กลุ่มบริษัทเลห์แมนบราเธอร์ส มีขนาดทางธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ (Market Cap) ประมาณ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2007และมีประมาณการรายได้สุทธิของปี 2007 อยู่ที่ 6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สินทรัพย์ของบริษัท ณ สิ้นปี 2007 อยู่ที่ 691 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีพนักงานทั่วโลกมากกว่า 26,000 คน และเคยผ่านวิกฤตการณ์ต่างๆ มาได้ตลอดทั้ง 150 กว่าปีของการดำเนินงานที่ผ่านมา แต่ต้องมาล้มละลายลงเนื่องจากบริษัทในเครือ BNC Mortgage ปล่อยกู้ให้กับลูกค้าสินเชื่อซับไพรม์และเกิดปัญหาหนี้เสียมหาศาลจนต้องปิดกิจการ ทำให้บริษัทขาดทุนประมาณ 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้บริษัทขาดความเชื่อมั่นและเกิดความเสียหายลุกลามต่อเนื่องไปจนถึงบริษัทแม่ ทำให้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี2008 กลุ่มบริษัท เลห์แมน บราเธอร์สมียอดขาดทุนถึง 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้บริษัทต้องขายสินทรัพย์ออกไปถึง 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หุ้นของบริษัทมีมูลค่าลดลงถึงร้อยละ 73 และมีแนวโน้มจะลดลงต่อไปเรื่อยๆและในที่สุดบริษัทต้องขอความคุ้มครองตามมาตรา 11 ของกฎหมายการเงินสหรัฐอเมริกา ที่อนุญาตให้บริษัทที่มีปัญหาทางการเงิน ประกาศขอล้มละลาย และส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังสถาบันการเงินใหญ่ของสหรัฐอเมริกา อีก 2 แห่ง ได้แก่ Merrill Lynch และ American International Group (AIG) และต่อเนื่องเป็นลูกโซ่กระทบถึงสถาบันการเงินทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกัน เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อซับไพรม์มากเกินไปจนเกิดหนี้สูญจำนวนมหาศาล รวมทั้งสถาบันการเงินอื่นๆในต่างประเทศที่ร่วมลงทุนในตราสารอนุพันธ์ซีดีเอส ส่งผลทำให้สถาบันการเงินของโลกต้อง ได้รับผลกระทบประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ขาดความมั่นคงและต้องปิดกิจการ ทางภาครัฐบาลร่วมกับธนาคารกลางจึงจำเป็นต้องนำเงินงบประมาณเข้าไปช่วยเหลือเฉพาะสถาบันการเงินของรัฐที่ทำหน้าที่ให้สินเชื่อด้านอสังหาริมทรัพย์ เช่น Fannie Mae and Freddie Mac บริษัทประกันAmerican International Group (AIG) มูลค่าการช่วยเหลือสถาบันการเงินในเบื้องต้นประมาณ11 ล้านล้านบาท ซึ่งมีขนาดมากกว่า GDP ของประเทศไทย ทั้งนี้ไม่สามารถช่วยสถาบันการเงินได้ทั้งหมด
นายเมธี ศรีประทุมรักษ์ ม.5/937 เลขที่ 34 เสนอ อาจารย์ประพิศ ฝาคำ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
นายเมธี ศรีประทุมรักษ์ ม.5/937 เลขที่ 34 เสนอ อาจารย์ประพิศ ฝาคำ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น